วันพฤหัสบดีที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2553

การสร้าง Component ใน OFBiz

ในการพัฒนา OFBiz จะเรียกการสร้าง application หรือ module ว่า component โดยแต่ละ component จะเป็นอิสระต่อกัน และแต่ละ component จะมี data model, views, controller เป็นของ component เอง แต่สามารถทำงานร่วมกับ component อื่นได้

component หลักของ OFBiz จะอยู่ใน folder ชื่อ applications ส่วน component ที่ถูกสร้างขึ้นจะถูกสร้างไว้ในโฟลเดอร์ hot-deploy โดยขั้นตอนในการสร้าง component สำหรับ OFBiz มีดังนี้
1. เปิด Terminal แล้วเข้าไปยัง folder ที่มีการรัน OFBiz
2. ทำการเรียก ant ให้สร้าง component โดยใช้คำสั่งดังนี้
./ant create-component
3. ant จะให้ตั้งค่าต่างๆ ของ component รูปแบบดังนี้
- ชื่อ component รูปแบบดังนี้ Component name: (e.g. mycomponent)
- Component resource name รูปแบบดังนี้ Component resource name: (e.g. MyComponent)
- ชื่อ web application รูปแบบดังนี้ Webapp name: (e.g. mycomponent)
- Base permission รูปแบบดังนี้ Base permission: (e.g. MYCOMPONENT)
4. เมื่อกำหนดค่าทั้งหมดแล้ว ant จะให้ confirm สิ่งที่ตั้งค่าไป เมื่อถูกต้องทั้งหมดแล้วกด y เพื่อยืนยัน ant จะเริ่มทำการสร้าง component ให้
5. ทดสอบการสร้าง component โดยลองเรียกผ่านทาง web browser ดังนี้
https://localhost:8443/ชื่อคอมโพเน้นท์/control/main หรือ
http://localhost:8080/ชื่อคอมโพเน้นท์

เมื่อสร้าง component เสร็จแล้ว จะยังไม่สามารถล็อกอินเข้าใช้คอมโพเน้นท์ได้ ให้ทำการแอด data security ให้กับ component ก่อน มีขั้นตอนดังนี้
1. login เข้าไปใน webtools ของ OFBiz ที่ได้ติดตั้งไว้ ตาม url ดังนี้
https://localhost:8443/webtools/control/main หรือ
https://localhost:8080/webtools
2. ค่า default ของการ login เข้าใช้งาน OFBiz ดังนี้
username = admin
password = ofbiz
3. ในการ import data security เข้าไปใน webtools สามารถทำได้หลายวิธี ดังนี้
วิธีที่ 1 import security data xml file
3.1.1 เลือก XML Data Import ใน webtools
3.1.2 ใส่ค่า absolute path ของ security data file ลงในช่อง Absolute Filename or URL: เช่น
/home/toonztudio/Desktop/projects/ofbiz.10.04/hot-deploy/testtest/data/TestTestSecurityData.xml

หมายเหตุ: ไฟล์ security data จะอยู่ในโฟลเดอร์ hot-deploy/ชื่อคอมโพเน้นท์/data/ชื่อ Component resource name ต่อด้วย SecurityData.xml

3.1.3 กดปุ่ม Import file
3.1.4 หากขึ้นข้อความว่าไฟล์ถูกอิมพอร์ตเข้าไปแล้ว และไม่มี error แสดงว่าการนำเข้า security data สำเร็จ ดังนี้
Results:
Got 12 entities to write to the datasource.
วิธีที่ 2 import xml element
3.2.1 เลือก XML Data Import ใน webtools
3.2.2 เปิดไฟล์ SecurityData.xml แล้ว copy element ระหว่าง ลงในช่อง Complete XML document (root tag: entity-engine-xml):
3.2.3 กดปุ่ม import text
3.2.4 หากไม่มี error แสดงว่าสามารถนำเข้าได้ทั้งหมด
Results:
Got 12 entities to write to the datasource.

วิธีที่ 3 XML Data Import Dir
3.3.1 เลือก XML Data Import ใน webtools
3.3.2 ใส่ค่า absolute path ของ data directory ลงในช่อง Absolute directory path: เช่น
/home/toonztudio/Desktop/projects/ofbiz.10.04/hot-deploy/testtest/data

3.3.3 กดปุ่ม import file หากไม่มี error แจ้งว่า fail แสดงว่าการนำเข้าสำเร็จ

เมื่อทำการเพิ่ม data security ให้กับ component นี้แล้ว แอคเคาท์ admin จะสามารถ login เข้าใช้งาน component นี้ได้ ทดสอบได้โดยการ login เข้าไปใน url ดังนี้
https://localhost:8443/ชื่อคอมโพเน้นท์/control/main หรือ
http://localhost:8080/ชื่อคอมโพเน้นท์

เมื่อล็อกอินเข้ามาแล้วจะพบหน้า OFBiz ว่าง ซึ่งต้องทำการเซ็ต controller ของ webapp ใน component ของ OFBiz ให้เรียก views มาแสดงผลได้ ซึ่งจะแสดงในบทความต่อไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น